top of page
รูปภาพนักเขียนVitchatalum Laovanich

เมื่อลูกเริ่มแข่งขันดนตรี


ในช่วงที่โรงเรียนปิดเทอม ก็ได้พยามหากิจกรรมหลายๆ อย่างให้ลูกทำ และกิจกรรมอย่างหนึ่งที่คุณลูกชายได้เร่ิมทำช่วงนี้ก็คือ สิ่งที่เรียกว่าการแข่งขัน ความจริงแล้วก็ไม่ค่อยออยากให้ลูกแข่งขันอะไรมากมาย แต่เนื่องจากช่วงนี้อยู่บ้านตลอด แล้วก็ต้องหากิจกรรมให้ลูกทำเยอะ ก็เลย เอาวะ ลองส่ง VDO แข่งขันดนตรีซะหน่อย เพื่อความบันเทิงของพ่อแม่ ส่วนลูกนั้นยังไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร ก็เป็นช่วงที่แข่งแบบสนุกๆ ไป




หลังจากที่เร่ิมแข่งก็ค้นพบว่า การแบ่งช่วงอายุเด็กในการทำกิจกรรมต่างๆ นี่ก็สำคัญเหมือนกัน บางกิจกรรมเด็กต่างวัยร่วมกันทำกิจกรรมก็เป็นประโยชน์ ได้รับความสนุกสนาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่บางกิจกรรมเช่น การแข่งขัน ถ้าเราให้เด็กเล็กๆ มากๆ ไปร่วมกิจกรรมกับเด็กที่โตกว่าเยอะๆ บางที่ก็เป็นเนื่องที่น่านำมาคิดเช่นกัน


คนที่เป็นพ่อแม่ หรือ ศึกษาเรื่องจิตวิทยาพัฒนาการมาจะทราบดีว่า พัฒนาของของเด็กๆ ยิ่งอายุน้อยๆ ช่วงเวลาเพียงหลักอาทิตย์ หรือ หลักเดือน เด็กๆ ก็มีพัฒนาการ ความพร้อม หรือวุฒิภาวะที่แตกต่างกันมาก แต่พอเด็กๆ โตขึ้นมา ก็จะมีพัฒนาการ ใกล้เคียงกัน เช่น เด็กอายุ 1 ปี จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกับเด็กที่อายุ 1 ปี 6 เดือนอยู่มากพอสมควร แต่พออายุ 9 ปี กับ 10 ปี อาจจะมีพัฒนาการที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

ซึ่งการคำนึงถึงวุฒิภาวะ หรือความพร้อมที่ต่างกันของเด็ก ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากเช่นกัน ส่วนใหญ่เวลาจะเลือกกิจกรรมอะไรให้ลูกทำ ผมก็จะพยายามคำนึงถึงสิ่งนี้เป็นหลัก และเนื่องจากการที่คุณลูกชายเป็นเด็กชอบกิจกรรม ชอบเล่นดนตรี ชอบประดิษฐ์ ชอบตีเทนนิส จึงได้มีโอากสไปเห็นโลกของ กิจกรรมต่างๆ การแข่งขันอื่นๆ ที่ไม่ใช่ดนตรีมาบ้าง รู้สึกว่าน่าสนใจที่เดียว


เร่ิมจากเมื่อมีที่แล้ว ได้มีโอกาสให้ลูกไปเรียนหลักสูตรเทนนิสำหรับเด็กเล็ก และต่อมาไม่กี่เดือนหลายก็ได้ลองให้ลูกชายเข้าร่วมการแข่งขันเทนนิสในเด็กเล็กๆ ซึ่งตอนแรกก็คิดว่าเด็กเล็กๆ มันจะไปตีได้ไง แค่ตีให้โดนลูกก็ยากแล้ว แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้จัดการแข่งขัน เค้าจะมีอุปกรณ์พิเศษ ที่ทำให้เด็กๆ สามารถเล่นเทนนิสกันด้วยความสนุกสนานได้ อย่างเช่น ใช้ลูกเทนนิสที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ มี Speed ของบอลที่ช้ากว่าของผู้ใหญ่ มี net ที่เตี้ยๆ ให้เด็กๆ ตีได้ แล้วก็ จัดการแข่งขันแบ่งเป็นประเภทๆ เด็กๆ ที่มาแข่งก็จะอยู่ในช่วงอายุเดียวกัน แต่ละรุ่นจะอายุห่างกันประมาณ 1-2 ปี จุดประสงค์คือ ให้เด็กๆ ได้เร่ิมเล่นเทนนิสแบบสนุกสนาน มีทักษะพื้นฐานที่ถูกต้อง ด้วยอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสรีระของเด็กๆ




มาดูการแข่งขันดนตรีบ้าง


ในที่สุดคุณแม่ก็ตัดสินใจให้ลูกเข้าประกวด เอาเพลงที่เรียนๆ อยู่แล้วนี่แหล่ะ ไม่ต้องซ้อมใหม่ เพราะให้แค่ที่ทำอยู่ที่ก็เยอะล่ะ และเนื่องจากคุณ COVID มาเยี่ยมประเทศไทยพอดี การแข่งกันก็เป็นแบบ online อัด VDO ดังนั้นไอ้ที่ตอนแรกคิดว่าจะไปเล่นสด ฮาๆ ก็ต้องเปลี่ยนแผนมาอัด VDO สรุปคือ มันยาก. มากอ่ะครับ อัดหลายครั้งมากเพราะเนื่องจาก พ่อแม่เป็นนักดนตรี ก็อัดมาฟังแล้วฟังอีก สุดท้ายค้นพบว่า ต่อให้อัดไปกี่รอบก็เหอะ ส่วนใหญ่ รอบแรกๆ จะดีสุด



ส่วนคุณลูกนั้นตอนอัด VDO ก็ไม่ได้รู้หรอกว่าการแข่งคืออะไร รู้แค่ว่าได้แต่งตัวหล่อ แล้วอัด VDO เล่นดนตรี อันนี้คือควาาสุขของเขาล่ะ




อย่างไรก็ตามขอใช้พื้นที่บันทึกผลการแข่งขันครั้งแรกของคุณลูกชายไว้หน่อยแล้วกันนะครับ


การแข่งขันดนตรีครั้งแรกของ ด.ช.เพลงประพันธ์ เหล่าวานิช Young Artist Music Contest 2020

แข่งในรุ่น class Junior อายุไม่เกิน 10 ขวบ

(ตอนนี้ปาวาน 5 ขวบ ลองแข่งตั้งแต่จิ๋วฮะ ยังมีเวลาอีกหลายปีในรุ่นนี้ )

รางวัล Silver Medal จาก Woodwind and Brass (Trumpet)

รางวัล Silver Medal จาก Voice

รางวัล Bronze Medal จาก Piano




หลังจากแข่งเสร็จผมก็ได้แง่คิดมาประเด็นนึงที่อยากชวนเพื่อนๆ คิดด้วยว่า


ในส่วนตัวผมตอนเป็นเด็ก จำความได้ก็แข่งดนตรีมาตลอดแต่เท่าที่เห็นส่วนใหญ่สมัยก่อนก็จะแบ่งระดับการแข่งขันแบบหลวม ๆ เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ลองจินตนาการว่านักเรียนชั้น ป.1 แข่งกับนักเรียนชั้น ป.6 มันแทบเป็นไปไม่ได้เลย จำความรู้สึกตอนไปประกวดครั้งแรกได้เลยว่า ตรูมาเล่นเพลงเดียวกับพี่ๆ ที่อยู่บนเวทีหรือเปล่าฟระเนี่ย เห็นคนอื่นเล่นแล้วอยากร้องไห้กลับบ้านมากกกกกก

นี่ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องแพ้ชนะอะไรนะครับ แต่ถ้ามีการปรับให้ช่วงกว้างของวัยมันแคบลงสักหน่อย น่าจะทำให้มีเด็กๆ รุ่นเดียวกันมาร่วมกิจกรรมมากขึ้นก็เป็นได้




แต่ประเด็นที่ละเอียดอ่อนประเด็นนึงผมว่ามันอาจอยู่ที่การเลือกบทเพลงของเด็กๆ ที่มาแข่งด้วยครับ ถ้าช่วงอายุในการแข่งขัน. กว้างมากๆ และไม่จำกัดบทเพลง บางทีจะให้เด็กเล็กๆ ไปเล่น เพลงยากๆ เท่าเด็กโตมันก็พอทำได้นะครับ แล้วก็เห็นเยอะด้วย เพราะเด็กๆ เดี๋ยวนี้เก่งเร็ว แต่ว่า บางทีมันก็เป็นการทำให้เด็กทำอะไรเกินพัฒนาการของตัวเองเกินไปนิดนึง หรือบางทีเนื้อหาของเพลงมันก็เกินกว่าเด็กเล็กๆ จะเข้าใจ หรือ สื่อสารได้ (อันนี้ก็ความเห็นส่วนตัว)


อย่างไรก็ตามผมคิดว่าสมัยนี้ก็ดีขึ้นเยอะ มีเวทีต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กที่มีพัฒนาการใกล้เคียงกัน ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมเยอะขึ้นมาก แต่ผมก็ยังคิดว่าบางรายการ ช่วงอายุมันกว้างมากไป ถ้าเทียบกับเทนนิสที่ผมเคยพาลูกไปแข่ง คือ เด็กอายุเท่ากันมา เล่นด้วยกันมันมันกว่า สนุกกว่า ลุ้นกว่า อันนี้ก็แล้วแต่ศรัทธานะครับ ส่วนผมไม่ได้คิดไรมาก ส่งๆ ไป ของให้ได้ร่วมกิจกรรมโดยที่คุณลูกชอบ และสนุก ถือว่า ok ล่ะ


เนื่องด้วยมีโอกาสสอนในมหาวิทยาลัย ก็พบว่า ปัญหาหนึ่งที่พบจากจากการรับนิสิตเข้ามหาวิทยาลัยจากการประกวดคือ นิสิตบางคนประกวดได้รางวัลใหญ่ๆ มา แต่ทั้งชีวิตเล่นอยู่แค่ไม่กี่เพลง ทำให้ยังขาดประสบการณ์ทางดนตรีในรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นส่วนสำคัญในการเป็นนักดนตรี หรือ ครูดนตรีที่ดีในอนาคต ลากมาซะไกล 5555 เกี่ยวกันไหมเนี่ย


สรุปคือ จริงๆ แล้ว การเลือกกิจกรรมให้เด็กๆ หรือ จะให้แข่งขันอะไรต่างๆ นานานั้น ก็มีสิ่งที่ควรคำนึงหลายประการ และประเด็นที่ควรให้ความสำคัญสำหรับผมคือ ความพร้อมด้านอารมณ์ ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ซึ่งก็ควรพิจารารณาไปด้วยกัน ส่วนแค่ไหนเรียกว่าพร้อม ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายอย่างคงต้องคุยกันยาว วันนี้ประมาณนี้นะครับ


สวัสดีครับ

ดู 309 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page