top of page
รูปภาพนักเขียนVitchatalum Laovanich

ทำใมเราถึงหนีออกจากระบบการศึกษาที่เราไม่ชอบไม่ได้

อัปเดตเมื่อ 23 ต.ค. 2564

สวัสดีครับทุกท่านช่วงนี้เบื่อๆ จากงานวิชาการ แล้วก็ไม่ได้ออกไปท่องเที่ยวไหนเลย อยากไปต่างประเทศก็รู้สึกลำบาก ไปต่างจังหวัดก็กลัว จึงให้เวลานี้ลองมาเขียนอะไรที่เหมือนพูดๆ เล่าๆ ใน podcast บ้างน่าจะสนุกดี


เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสฟัง ช่อง Youtube ของ CDC Bitcoin TAlk #92: The rights ot exit โดย อาจารย์พริยะ สัมพันธารักษ์ พูดเกี่ยวกับเรื่อง สิทธิในการเดินออก เดินหนี ซึ่งผมฟังแล้วคุ้นๆ ว่าเกี่ยวข้องกับชีวิตตัวเองช่วงนี้ พอฟังไปๆ มีประเด็นหรือมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอย่างมาก จึงขอนำมาบันทึกและสรุปและเติมความเห็นส่วนตัวไว้สักหน่อย เพื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจ


กล่าวโดยสรุปคือ The rights to exit หรือ สิทธิในการเดินออกจากภาวะที่ไม่ชอบนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับมนุษย์ และสังคมเป็นอย่างมาก แต่คนที่มีอำนาจ มักจะกีดกันและลดสิทธิเสรีภาพดังกล่าวของประชาชน หรือไม่ต้องการให้ประชาชนมีสิทธิที่จะเดินทางออกจากประเทศอย่างเสรี ยิ่งประเทศที่เผด็จการมากยิ่งมีการควบคุมสิทธิดังกล่าวมากเช่นกัน อาทิ เกาหลีเหนือที่ไม่ต้องการให้คนเข้าออกประเทศของตนได้อย่างเสรี เป็นต้น ดังนั้นสิทธิในการที่คนในชาติเหล่านั้นจะรับผิดชอบชีวิต รับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองจะถูกริดรอนออกไป ซึ่งความจริงแล้วคนเราควรต้องมีสิทธิในการเดินออกจากสภาพแวดล้อมที่เค้าไม่ได้ต้องการอยู่ได้ สามารถเดินออกไปอยู่ในที่ที่ดีกว่าได้อะไรประมาณนั้น



แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เริ่มทำให้เสรีภาพในเรื่องนี้ของประชาชนลดลงเป็นอย่างมาก หากเปรียบเทียบกับสมัยโบราณ เราอยากเดินทางไปไหนก็ไป ยุคต่อมามีรัฐชาติ เราไม่สามารถเดินทางข้ามไปมาระหว่างเขตแดนได้ มีการจำกัดสิทธิการเข้าออก ยิ่งในปัจจุบันลองนึกๆ ดูบางทีเราก็เมือนกับสัตว์ หรือ สุนัข ที่เวลาจะเดินทางข้ามประเทศต้องมีการขอดูใบฉีดวัคซีน ซ้ำร้ายต้องมีการกำหนดด้วยว่าต้องฉีดยี่ห้อโน้น นี้ ถึงจะเข้าหรืออออกจากประเทศนั้นๆ ได้ ซึ่งพิจารณาให้ดีอันนี้แหล่ะที่เป็นการริดรอนเสรีภาพในเรื่องนี้เป็นอย่างมากในช่วงโควิด และรัฐบาลหลายๆ ประเทศก็ถือโอกาสช่วงนี้เป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความชอบธรรมในการริดรอนสิทธิดังกล่าว โดยอาศัยข้ออ้างเรื่องสุขภาพ และความปลอดภัยของประชาชน





แล้วสิทธิในการออกนี่มันสำคัญอะไรนักหนา

ตอนแรกผมก็ว่ามันไม่เห็นจะสำคัญอะไร แต่พอฟังไปฟังมาก็จับความได้ว่า สิทธิในการออกนี้มันส่งผล อย่างรุนแรงต่อการแข่งขัน และการพัฒนาในด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือของค่ายหนึ่ง วันนึงเราไม่ค่อยพอใจกับสัญญาณ หรือบริการของเค้า เราก็สามารถ เปลี่ยนไปใช้สัญญาณหรือบริการของอีกค่ายนึงที่เป็นคู่แข่งกัน ที่เราเห็นว่าคุณภาพดีกว่าได้ อันนี้เป็นสิทธิในการออกจากพื้นที่นั้นของเรา ดังนั้นแต่ละบริษัทก็จะพยายามพัฒนาให้ผลิตภันฑ์ของตนเองดีที่สุด เพื่อที่จะไปแข่งขันกับคนอื่นได้ เนื่องจากรู้ว่า ผู้บริโภคมีสิทธิในการออกอย่างเสรี (แต่ในความเป็นจริงบริษัทก็จะต้องทำให้เกิดความยากลำบางนิดนึงในการเปลี่ยนค่าย เนื่องจากลึกๆ แล้วก็อยากที่จะมีอำนาาจเหนือผู้บริโภคอยู่) หรือแม้กระทั่งการเกิดขึ้นของ Bitcoin ที่ทำให้วงการการเงินการธนาคารของโลกพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดเนื่องจากทราบว่าประชาชนมีสิทธิที่จะออกจากการใช้ระบบเงินตราปัจจุบันไปสู่การใช้ Bitcoin (เท่าที่ผมพอจะเข้าใจนะครับ พอดีก็ไม่ค่อยมีความรู้เรื่อง Bitcoin สักเท่าไหร่)


สรุป คือ สิทธิในการออก ทำให้เกิดการแข่งขัน การแข่งขันทำให้เกิดการพัฒนา ดังนั้น ประชาชนคนหวงแหนสิทธิเหล่านี้ไว้

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการศึกษา

คำถามชวนคิด คือ ระบบการศึกษาภาคบังคับ เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้คนเข้าและคนก็ยินยอมพร้อมใจและอยากที่จะเข้าด้วย แต่เมื่อเข้ามาแล้วแทบไม่มีสิทธิในการออก นักเรียนไม่สามารถออกจากสภาวะที่ตนรู้สึกคับข้องได้ มีการสร้างรั้วรอบขอบชิด เพื่อที่จะป้องกัน ไม่ให้เด็กๆ ออกจากพื้นที่เหล่านี้ไปได้ คล้ายๆ กับว่าในระบบการศึกษา นักเรียนเป็นเชลย ซึ่งถ้านักเรียนไม่นั่งอยู่ในห้องเรียนจะไปนั่งอยู่ที่ไหน สังคม โลก วัฒนธรรม คาดหวังว่านักเรียนต้องอยู่ในห้องเรียน เด็กไม่มีทางหนีไปไหนได้เลย


ส่วนครู ด้วยความเคารพนะครับ ผมก็เป็นครูและรักในวิชาชีพนี้มากๆ เช่นกัน และก็ทราบว่ามีครูดีๆ อยู่เต็มประเทศ แต่ลองพิจารณาดูว่า จริงๆ แล้วครูจะสอนห่วยแค่ไหนก็ได้ เนื่องจากนักเรียนมีหน้าที่ต้องนั่งอยู่ในห้อง ไม่สามารถหนีไปไหนได้ และเวลานักเรียนไม่ตั้งใจเรียนในเรื่องที่เขาไม่อยากเรียน พอนักเรีนยไม่ตั้งใจเรียน คุณครูก็จะเข้าทำการควบคุมพฤติกรรมต่างๆ นานา ด้วยความหวังดีนั่นแหล่ะ ผมก็เข้าใจอยู่


แต่สิ่งนี้อาจเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ระบบการศึกษาไม่พัฒนา เพราะเป็นสิ่งที่รัฐจัดให้ เป็นสภาพบังคับ ที่ผู้คนในสังคมก็จำยอม ทำให้คนที่อยู่ระบบไม่ค่อยมีช่องทาง หรือมีสิทธิที่จะออกจากภาวะนี้


ผมก็คงเหมือนครูทั่วๆ ไป ที่พยายามสุดความสามารถในการพยายามหาวิธีการในการสอน online ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เรื่องอุปกรณ์นี่ไม่ต้องห่วง จัดมาเต็มทั้งกล้อง ทั้งไมค์ ทั้งไฟ อันนี้เราก็ลงทุนเอง ไม่ได้คิดอะไรมากก็แค่อยากให้ลูกศิษย์เรา ได้รับความรู้ที่ดีที่สุดเท่าที่เราพอจะทำได้ จริงๆ ถ้าถามว่าอยากได้อุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมคงไม่ แต่อยากได้เงินสนับสนุนค่าไฟ ค่าแอร์มากกว่า เพราะสอนที่บ้านจะเปิดพัดลมสอนก็ไม่ได้ จะมีเสียง ฟู่ๆๆๆๆ เข้าไมค์ตลอดเวลา (นอกเรื่องอีกล่ะ)


แต่สิ่งที่อึดอัดใจเวลาสอน online คือ เวลาสอนนักเรียนใน sec ใหญ่ๆ บรรยายให้ผู้เรียนหลักร้อยคน แล้วเราไม่รู้จักผู้เรียนมาก่อน จะเจอบรรยากาศแบบทุกคนปิดกล้อง เงียบกริบ เวลาพูดอะไรไปเราแทบไม่รู้เลยว่าอีกฝั่งนึกคิดอะไร ทำอะไรอยู่ บางทีก็พยายามสร้างกิจกรรมให้มีการอภิปราย ถามตอบ แต่มีความรู้สึกเหมือนเวลาถามเรียกชื่อไปแล้ว เรากำลังไปรบกวนเวลาพักผ่อนของเขาอยู่ยังไงไม่รู้ 5555


เคยมีนิสิตไปฝึกสอนแล้วถามผมว่า ทำไงดีครับอาจารย์ เด็กๆ ปิดกล้องกันหมดเลย ก็แนะนำวิธีการโน่น นี่ นั่นไป และสุดท้ายก็บอกนิสิตว่า มันเป็นวิบากกรรม คุณเข้าใจผมหรือยัง แล้วก็หัวเราะเบาๆ อิอิ


แต่มาลองพิจารณาอีกที สิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจเนื่องจากสภาวะที่ผู้เรียนไม่มีสิทธิในการออกก็ได้ บางครั้งหลังจากสอนเสร็จผมก็มานั่งคิดๆ ดูว่า ทำไมเราต้องเสียเวลามานั่งเตรียมสอนในเรื่องที่ผู้เรียนไม่ได้อยากรู้ บางทีเตรียมสอนหลายชั่วโมงมาก เพื่อมาสอนแค่ 2- 3 ชั่วโมง ในสิ่งที่ผู้เรียนบางคนมาเรียนเพื่อต้องการแค่กระดาษใบนึง เพื่อเป็นใบผ่านทางให้สังคม (ยุคเก่า) ยอมรับ ดังนั้นถึงผู้สอนจะตั้งใจสอนแค่ไหน นักเรียนก็ไม่ตั้งในเรียนอยู่ดี (อันนี้คิดแบบเข้าข้างตัวเอง เพื่อให้รู้สึกดีขึ้นมาบ้าง5555)


แต่มันก็จะมีในการสอนบางรายวิชา ในวิชาเอก ที่ผู้เรียนของเราแบบตั้งใจเรียน เวลาเราพูดอะไรก็จะมีคำถามหรือเตรียมข้อมูลมาอภิปราย ซึ่งอันนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน (แต่น้อย)


แต่เดี่ยวก่อน !!!!!!! เวลาเราเปิดสอน online แล้วให้คนภายนอกมากร่วมเรียนด้วย อันนี้จะมีผู้คนสนใจมากกว่าที่คิดไว้เยอะเลย และคนเข้ามาฟังก็จะมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ที่สำคัญคืออยากจะออกจากห้องเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ก็จะไม่ค่อยมีใครออกก่อนที่จะหมดเวลา อยู่กันจนจบเพื่อรอในช่วงท้ายที่มีการเปิดโอกาสให้ถามวิทยากร และที่เห็นๆ ในแวดวงดนตรีศึกษาคือตอนนี้แต่ละที่ก็เปิดพื้นที่การสอน online ซึ่งแต่ก่อนเป็นระบบปิด แต่เดี๋ยวนี้เรียกว่าทัวร์เข้าเรียน online กับแทบไม่ทันเลย นี่ก็อาจเป็นเหตุผลอ้อมๆ ว่าคนที่มาฟังเหล่านี้ มีสิทธิในการออก ไม่ได้โดนบังคับมาเรียน เลยตั้งใจหรือเปล่า อันนี้ก็ไม่รู้เหมือนกัน โยงไปโยงมาเริ่มงง 5555



จุดเปลี่ยนทางการศึกษา

ประเด็นสำคัญมันอยู่ประมาณว่าโลกยุค internet ทำให้เรื่องของการออกจากที่ใดสักที่มันง่ายขึ้นกว่าเดิมมากมายหลายเท่า นอกจากนี้มันยังเป็นสังคมประมาณว่าระบบที่เปิดให้ผู้คนเข้าถึงได้จะอยู่รอด ส่วนระบบที่ยังปิดๆ อยู่ อาจตายได้ในไม่ช้า วันก่อนก็ไปฟัง คุณจิรายุ ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งบริษัท Bitkub พูดประมาณว่า ถ้าสังเกตให้ดีบริษัทรุ่นใหม่ๆ ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่ตัวเองกำลังขายอยู่ อาทิเช่น อูเบอร์เป็นอู่ TAXi ที่ไม่มี TAXI หรือ Airbnb เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีบ้านหรือ condo ของตัวเอง


จะเป็นไปได้ไหมว่าในอนาคตมหาวิทยาลัยที่จะยิ่งใหญ่ที่สุด อาจเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่มีอาจารย์ เป็นของตัวเอง แต่เป็น Platform ที่ผู้คนมาแสวงหาความรู้ หรือ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ถามว่าอาจารย์อย่างเราจะตกงานไหม ก็ไม่แน่ แต่เราอาจกลายสภาพเป็นแบบคนขับ TAXI หรือ เจ้าของบ้าน ที่ต้องอาศัย Platform เหล่านี้ในการประกอบอาชีพก็อาจเป็นได้กระมัง ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็คงมาถึงภายในระยะเวลาอีกไม่นานถ้ามหาวิทยาลัยปิดต่างๆ ไม่รีบปรับตัวให้เข้ากับกระแสโลกที่ยังเป็นอย่างทุกวันนี้


เอาหล่ะ ลองย้อนกลับมาดูเรื่อง Ritght to exit กับปัญหาเฉพาะหน้าใกล้ๆ ตัวก่อน อย่างเช่นการทำงานหรือการสอนที่บ้าน WFH หรือ การเรียน online เราไม่จำเป็นต้องถูกกำหนดให้อยู่เฉพาะในที่ทำงานตามตารางเวลางาน เราอยากจะออกจากภาวะนี้เมื่อไหร่ก็สามารถทำได้ หรือในการเรียน online เด็กๆ อาจไม่ต้องอยู่ในห้องเรียน หรือโรงเรียนตลอดเวลา สามารถเรียนจากที่ไหนก็ได้ บางครั้งไม่จำเป็นต้องเรียนพร้อมๆกันก็ได้ มีการบันทึก VDO การสอนย้อนหลังให้สามารถเข้ามาดูได้ในเวลาที่ว่าง


ดังนั้นการทำงานที่บ้าน WFH หรือ การเรียน online จึงอาจเป็นโอกาสให้เกิด Right to exit กับ องค์กร และ แรงงาน และระบบการศึกษารูปแบบเดิมอย่างที่ไม่เคยมาก่อน


เอาจจริงๆ นะตอนแรกๆ ก็ค่อนข้างจะเบื่อการสอนที่บ้านมากๆ แต่พอกำลังจะเร่ิมกลับมาทำงานที่ทำงานได้ ผมคิดว่า การ WFH อาจทำให้หลายๆ คนไม่อยากกลับเข้าไปทำงานที่ office อีกเลย หรืออาจจะเร่ิมคิดถึงสภาพการต้องฝ่าฟันรถติดไปทำงาน เพราะผ่านมาเกือบ 2 ปี ก็พบว่าโต๊ะทำงานที่บ้านผมนี่อลังการงานสร้างกว่าโต๊ะที่ทำงานหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมว่าการประชุม online นี่ work มาก จะประชุมที่ไหนก็ได้ แต่การสอน online นี่ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของรายวิชา โดยเฉพาะวิชาพวกรวมวงดนตรีนี่บอกเลยว่ายากกกกกกกมากกกกก


แต่ข้อดีก็มีอีกอย่างคือ วันก่อนมีนิสิตไปแสดงดนตรีที่ยุโรป แต่ยังสามารถมาร่วม Class online พร้อมกับเพื่อนๆ ท่ีเมืองไทยได้ คิดว่าในอนาคตผมคงสามารถเดินทางไปแสดงดนตรีในต่างประเทศ แล้วก็สอนมาจากที่โน่นเลยโดยไม่ต้องงดคลาส แล้วก็ถือโอกาสพานิสิตทัวร์ทิพย์ในห้องเรียน online ก็น่าจะสนุกดี


ในส่วนของคุณลูกชายของผมที่กำลังเรียน ป.1 ก็สนุกสนานกับการเรียน online อยู่ไม่น้อย ต้องบอกว่าโชคดีที่ลูกไม่ค่อยมีปัญหากับการเรียน online เท่าไหร่ จะมีปัญหาหน่อยก็เวลาเรียนกับกลุ่มใหญ่ๆ เพราะจะไม่คนชอบเรียนคนเยอะๆ ไม่ค่อยชอบแสดงความคิดเห็นเวลามีเพื่อนอยู่เยอะๆ และคุณครูก็ไม่มีทางที่จะดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง แต่วิชาพิเศษที่เค้าสามารถเลือกเรียนได้เอง ในช่วงเวลาที่ว่าง เช่น วิชาคิดเลขในใจ วิชาวาดรูป อันนี้คือชอบมาก ในอนาคตอันใกล้ก็ยังไม่แน่ใจว่าอาจต้องมีรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานเกิดขึ้นหรือเปล่า เช่น เด็กเล็กบางคนอยากไปเรียนที่โรงเรียน แต่บางคนก็ยังไม่กล้าหรือไม่มั่นใจที่จะให้ไปโรงเรียน อันนี้โรงเรียนคงต้องคิดถึงประเด็นนี้ ซึ่งสาถานการณ์นี้จะนำไปสู่ สิทธิในการออก หรือ สิทธิในการเลือกเรียน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความสะดวกของแต่ละคน อย่างไร อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน


แต่ที่แน่ๆ คือ มีเด็กจำนวนมาก อย่าว่าแต่สิทธิ์ในการออกเลย ไม่มีสิทธิแม่แต่จะเข้าถึงการศึกษาด้วยซ้ำสถานะการณ์โควิท อันนี้ยิ่งน่าเป็นห่วง ซึ่งหากโลกเรายังคงดำเนินไปด้วยระบบกลไกแบบนี้ ความเหลื่อมล้ำยิ่งจะมากขึ้นเป็นเท่าทวีคูณหลังจากวิกฤตผ่านไป


ประเด็นชวนคิดคือประเด็นคือ เราชอบเรียกร้องความเสรี และเห็นว่าอิสระภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่เมื่อใดที่เราเรียกร้องให้รัฐทำโน่นทำนี่ให้เรา สิ่งที่ตามมาจากสิ่งที่เราเรียกร้องคือ การเข้าควบคุมสิ่งนั้นโน้นอำนาจของรัฐ และสุดท้ายมันก็จะส่งผลมายังสิทธิเสรีภาพของประชาชน การศึกษาก็เช่นกัน เมื่อเราบอกว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องจัดให้ มุมนึงมันก็เป็นด้านดี แต่อีกมุมนึงเป็นก็ทำให้เกิดการผูกขาด ประชาชนไม่มีสิทธิในการออก ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ที่เราเองก็ทราบๆ กันดีอยู่ในปัจจุบัน








ดู 91 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page