top of page
รูปภาพนักเขียนVitchatalum Laovanich

การแข่งขันดนตรี ดีหรือไม่



บทความนี้เขียนไว้ใน Facebook ส่วนตัว เมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ.2562) หลังจากที่ผมได้มีโอการ่วมเดินทางไปแข่งขันขับร้องประสานเสียงกับคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู และได้รับรางวัลชนะเลิศสาขา Open choir จากการประกวด Llangollen International Musical Eisteddfod 2019 ซึ่งเป็นการแข่งขันที่เก่าแก่ และทรงเกียรติ มากที่สุดรายการหนึ่งของโลก



พอกลับมาอ่านแล้วคิดว่ามีประโยชน์เลยขอใช้พื้นที่นี้นำกลับมาเขียนใหม่อีกสักที อาจมีคำไม่สุภาพบ้าง แต่ก็เป็นอารมณ์ ความรู้สึกในตอนนั้น ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ก่อนที่จะเริ่มอ่านนะครับ เอาล่ะ เร่ิมเลยแล้วกัน



การแข่งขันครั้งนี้เป็นการผจญภัยที่เหนื่อยที่สุดในชีวิตของผมครั้งนึงเลย เพราะต้องซ้อมหนักมาก อีกทั้งยังต้องพาเจ้าตัวเล็ก ที่ตอนนั้นอายุประมาณ 3 ขวบ เดินทางไปแข่งขันรายการขับร้องประสานเสียงที่จัดว่าโหด หิน ที่สุดรายการนึงของโลกเลย แต่อย่างไรก็ตามทีมเราก็สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศศศศศ มาได้ ดีใจมากกกกกกกกก





ทุกครั้งขณะที่กำลังเหนื่อจัดๆ ก็มักจะมีคำถามเดิมๆ วันเวียนอยู่ในหัวสมองว่า "ฉันมาทำอะไรที่นี้ เหนื่อยเรือหาย ทำไปเพื่อ??????" แต่พอนึกถึงวินาทีที่ ประกาศรับรางวัลแล้วก็รู้สึกดี แบบบอกไม่ถูก บรรยายไม่ได้ มันเป็นสิ่งเติมเต็มอะไรบางอย่างที่ขาดหายไปในชีวิตอย่างบอกไม่ถูก


ผมอยู่วงนี้มานาน อะไรๆ ก็เปลี่ยนไปมาก โอกาสที่วงนี้ให้กับชีวิตของผมมันมากมายเกินคำบรรยาย แต่มันก็ต้องแลกมากับอะไรหลายๆอย่างเช่นกัน


หลังจากร่วมการแข่งขันกับวงนี้มาเกือบ 20 ปี ครั้งนี้เริ่มรู้สึกอย่างจริงจังว่า ศักยภาพของเราเริ่มถดถอย จำเพลงช้า สังขารร่วงโดย และประโยชน์ของเราต่อส่วนรวมก็น้อยลงไปทุกที ด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่าง เป็นครั้งแรกที่ป่วยตลอดทริปเกือบสามสัปดาห์ ก่อนมาก็ไปหาหมอฉีดยา ทำทุกอย่าง แต่ก็ไม่หาย แต่ต้องกัดฟันทุกวันเพื่อให้ผ่านไปได้ แม้ช่วงลาพักร้อนเที่ยวต่อ ผมก็ยังคงความป่วยอยู่ เลยพาให้คุณภรรยาไม่สนุกไปด้วยเลย


พูดเรื่องงานแข่งก่อนแล้วกัน มีหลายคนถามว่าทำไมต้องมาแข่งอยู่ตลอด เสียเงิน เสียเวลา ได้อะไรบ้าง เราสามารถสร้างการศิลปะแบบไม่ต้องแข่งขันได้หรือเปล่า ?


จริงๆ ไม่ชอบการแข่งขันชอบอยู่เฉยๆ สบายๆ ทำงานศิลปะ หรืองานอะไรที่เราชอบไปเรื่อยๆ แต่พอเหลียวมองไปรอบๆ ตัว มันมีที่ไหนไม่มีการแข่งขันบ้างฟระ คนที่หยุดนึ่ง ไม่เคลื่อนที่ ก็จะตายไปในที่สุด อะไรที่มันไม่มี ไดนามิค มันจะเดี้ยงไปเอง เช่น เวลาเลี้ยงปลา ถ้าปั้มน้ำในเครื่องกรองเสีย น้ำนิ่งๆ อีกไม่นานปลาก็จะได้ อะไรประมาณนั้น (เกี่ยวกันไหมเนื่ย 555)


แต่พอมานึกๆ ดูอีกที การสร้างไดนามิคไม่จำเป็นต้องแข่งก็ได้ แต่ทำตัวให้มีการเคลื่อนไหว พัฒนาตลอดก็จะเป็นการดี


แต่เท่าที่ผมมีประสบการณ์มาพบคิดว่าการแข่งขันเป็นทางนึงที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทันทีที่ตัดสินใจแข่งขัน เหมือนเป็นการบังคับตัวเองและทีมต้องทำงานหนักโดยปริยาย ทุกคนที่อยู่ในกระบวนการแข่งต้องทำงาน ต้องซ้อม ต้องหาทุน ต้องดิ้นรน ได้เงินมาแล้วก็ต้องทำให้ได้คุณภาพออกมาดีที่สุด สุดท้ายแล้วผลลัพธ์จากกระบวนการทำงานอย่างหนัก มันก็จะส่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

นึกๆ ดูก็ คล้ายๆ กับเวลาเราต้องสอบอะไรสักอย่าง เราจะต้องอ่านหนังสือ ทำงานหนัก แต่ถ้าไม่มีสอบก็ปล่อยๆ ชิวๆ ไป (แต่บางคนถึงมีสอบของยังชิวได้) ซึ่งทัศนะคติแบบนี้เป็นแบบมือสมัครเล่น ถ้าเป็นมืออาชีพ ผมคิดว่าไม่ต้องมีสอบมีแข่งขัน เขาก็ทำงานของของไป เพียงแต่ ผมไม่คิดว่าเมืองไทย ทัศนะคติแบบมืออาชีพในวงการขับร้องประสานเสียงเพียงพอ ที่จะไม่ใช่กุศโลบายอะไรเลย แล้วจะทำให้คนในวงลุกขึ้นมาตั่งใจฝึกซ้อม และเร่งพัฒนาตัวเอง และวงเท่ากับการแข่งขัน (อันนี้จากประสบการณ์ในวงสวนพลู และวงอื่นๆ ที่ทำมา พบว่าวงพัฒนาขึ้นในทุกๆ การแข่งขัน แต่ถ้าใครมีวิธีการยังไงก็ลองมาแชร์กันดูนะครับ)



โดยเฉพาะกับเด็กๆ วัยรุ่นนี่ชอบการแข่งขันมาก เป็นเหมือนแรงขับ อะไรสักอย่างเพื่อให้พวกเขาทำงานศิลปะที่ตัวเองรัก ให้มีคุณภาพ สร้างความภาคภูมิใจ การทำงานเป็นทีม การเสียสละ ที่สำคัญคือการยอมรับในความล้มเหลว หรือผิดหวัง อะไรก็แล้วแต่ แล้วยังเดินหน้าต่อไปได้ (อันนี้สำคัญสุด)


แต่ความเจ็บปวดจากการแข่งขันก็มีให้เห็นอยู่เสมอ โดยเฉพาะเวลาผิดหวัง และยิ่งเห็นเด็กๆ ที่เราพามาผิดหวังนี่คือสุดๆ แห่งความเจ็บปวด แต่ก็คิดว่าเป็นบทเรียนที่ดีให้กับชีวิจทุกคร้งที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรืออะไรก็แล้วแต่ มันทำให้เราโตขึ้นทุกๆ ครั้ง


ในชีวิตนึงผมคิดว่า การที่ให้เด็กๆ หรือ เยาวชนได้เข้าแข่งขัน หรือ ลองทำอะไรที่เป็นระดับมาตรฐานสากล ไม่จะเป็นต้องแข่งดนตรีก็ได้ จะเป็นกีฬา ศิลปะ คณิตศาสตร์ ฯลฯ มันทำให้เห็นว่าโลกเขาไปกันถึงไหนแล้ว มันสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นประสบกาณ์ชีวิตที่สำคัญ เพราะประสบการณ์บางอย่างมีเงินมากแค่ไหนก็ซื้อไม่ได้



ตลอดชีวิตนักดนตรีของผมเรียกได้ว่าเติบโตมากับการแข่งขันตลอด พออายุเยอะๆ แพ้บ้างชนะบ้างก็กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปซะแล้ว แต่การได้อยู่ในบรยากาศการแข่งขัน มันสร้างสีสัน และความตื่นเต้นให้ชิวิตอยู่พอสมควร


ประโยชน์ข้างเคียงของการมาแข่งขันคือ ได้ดูของดีๆ การได้ดูได้ฟังของดีนี่ก็เป็นประสบการณ์ที่มีค่าอีกเช่นกัน เพราะทุกวงที่เตรียมตัวมานี่ก็เต็มที่กันสุดๆ ของดีในที่นี่มีหลายแง่มุม ทั้งคุณภาพดนตรี จิตวิญญานของการรวมพลัง ความตื่นเต้น ความท้าทาย ความสนุกสนาน ฯลฯ สำหรับบางคนก็ได้ Conection หรือ บางคนก็นะเพลงที่ตัวเองเรียบเรียงเสียงประสานมาทำให้เป็นที่รู้จัก หรือ ได้รับการติดต่อให้ไปแสดงงานต่อๆ ไป อะไรก็ว่าไป


พอมานั่งพิจารณาดูการแสดงของสวนพลูครั้งที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่ก็อยู่ในต่างประเทศ ประมาณว่ารอบแข่ง หรือ Concert ในต่างประเทศจะร้องดีสุดๆ แต่พอแสดงในประเทศ ก็ยังสู้ที่แสดงในต่างประเทศไม่ได้ ผมไม่รู้วงอื่นเป็นเหมือนกันไหม อันนี้เป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาดูแสดงดนตรีต้องไปดูการแสดงสดๆ


สุดท้ายนะครับการแข่งขันก็เป็นวิธีพัฒนาวงแบบนึงแค่นั้นเอง แต่สำคัญที่สุดคือ คุณภาพของงานศิลปะที่ออกมา มันจะเป็นตัวพิสูจน์ คุณค่าของมันเอง ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงาานศิลปะคือ กระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณภาพ มันจะเป็นกระบวนการในการขัดเกลาทุกอย่าง จนกระทั่งถึงจิตวิญญาณในตัวของมันเอง

แข่งไม่แข่งไม่ใช่สาระสำคัญ เป็นแค่วิธีการหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ที่สำคัญงานต้องมีคุณภาพ (อันนี้ก็ต้องไปตีความกันอีก) ไม่ใช่หลอก แดรก สร้างภาพไปวันๆ ยกเว้นจะทำวงแบบการกุศล รวมกลุ่มร้องกันเล่น เพื่อคววามบันเทิง เพื่อมิตรภาพ เมื่อสังคม เพื่อความสุข อันนั้นคุณค่าของมันก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง อีกจุดประสงสงค์นึงใช่มะ????


ดู 227 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page