top of page
รูปภาพนักเขียนVitchatalum Laovanich

การเลือกครูดนตรีคนแรกของเด็กๆ

มีคนเคยถามผมว่าถ้าจะเลือกครูดนตรีคนแรกให้ลูกๆ ควรจะเลือกแบบไหน เลือกครูใจดีเด็กๆ จะได้อยากเรียนดนตรี หรือ ต้องเลือกครูที่ดุๆ เพื่อจะได้บังคับให้เด็กฝึกซ้อม พอดีว่าวันนี้ได้อ่านหนังสือเล่มนึงชื่อว่า A Revolutionary of approach to success Give and Take เขียนโดย Adam Grant ได้ข้อมูลที่น่าสนใจเพื่อตอบคำถามดังนี้นะครับ



นักจิตวิทยาเชื่อกันมาหลายปีแล้วว่า ความสำเร็จในทุกแวดวงนั้นขึ้นอยู่กับพรสวรรค์เป็นอันดับแรกและแรงจูงใจเป็นอันดับที่สอง การปลุกปั้นนักดนนตรีระดับโลกผู้เชี่ยวชาญจะมองหาคนที่มีความสามารถตั้งแต่เกิดจากนั้นก็ค่อยๆ หาวิธีสร้างแรงจูงใจให้พวกเขา


ถ้าคุณอยากให้คนที่เล่นเปียโนเก่งเหมือนวิตฟิลด์ก็เป็นธรรมดาที่คุณจะเฟ้นหาคนที่มีพรสวรรค์ด้านดนตรีแต่ในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ นักจิตวิทยาเริ่มสังเกตุเห็นว่าแนวทางดังกล่าวอาจไม่ได้ผลอย่างที่เราคิดกัน


ในช่วงทศวรรษที่ 1960 นักจิตวิทยารุ่นบุกเบิกอย่างเรย์มอนด์ แคตเทลล์ ได้คิดค้นทฤษฎีที่ว่าด้วยการลงทุนทางสติปัญญาเขาอธิบายว่าความสนใจคือสิ่งที่ผลักดันให้คนเราทุ่มเทเวลาและพลังไปกับการพัฒนาทักษะและความรู้บางอย่าง ทุกวันนี้มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือซึ่งบ่งบอกว่าความสนใจนั้นมาก่อนพรสวรรค์นั่นหมายความว่าแรงจูงใจคือเหตุผลที่ทำให้คนเราพัฒนาความสามารถบางอย่างขึ้นมา


ในช่วงทศวรรษที่ 1980 นักจิตวิทยาชื่อเบนจามิน บลูม ได้ทำการวิจัยครั้งใหญ่กับนักดนตรี นักวิทยาศาสตร์ และนักกีฬาระดับโลก ทีมงานของบูมสัมภาษณ์นักเปียโน 21 คนที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในการแข่งขันรายการใหญ่ระดับนานาชาติ นักวิจัยเริ่มเจาะลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ในการเล่นดนตรีครั้งแรกๆ พวกเขาก็ได้พบกับเรื่องไม่คาดคิดนั่นคือ คนเหล่านี้ไม่ได้มีพรสวรรค์มาตั้งแต่เกิด


ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ในวัยเด็ก นักเปียโนดาวเด่น จะโดดเด่นเมื่อเทียบกับคนในครอบครัวหรือระแวกบ้านเท่านั้น แต่ไม่ได้โดดเด่นในระดับท้องถิ่นภูมิภาคหรือประเทศเลย แถมยังไม่ค่อยชนะการแข่งขันในช่วงแรกๆของชีวิตด้วย

เมื่อได้สัมภาษณ์นักเป็นโนระดับโลกและพ่อแม่ของพวกเขา ทีมงานของบลูมก็ค้นพบเรื่องน่าประหลาดใจอีกอย่าง นั่นคือ นักเป็นโนเหล่านี้ไม่ได้เริ่มต้นเรียนเป็นโนกับครูที่เก่ง ปกติแล้วพวกเขาจะเริ่มเรียนเปียโนครั้งแรกกับผู้ที่อาศัยอยู่ระแวกเดียวกัน


ถึงแม้จะไม่ได้เริ่มต้นเดือนกับครูฝีมือดีแต่เมื่อเวลาผ่านไปนักเป็นโนเหล่านี้ก็จะกลายเป็นนักดนตรีที่เก่งที่สุดในโลก สาเหตุเป็นเพราะพวกเขาฝึกหนักกว่านักเปียโนทั่วไปมาก แต่อะไรคือคือแรงจูงใจทีทำให้พวกเขาฝึกหนัก ????


คำตอบคือ ครูคนแรก โดยพ่อแม่ของนักเปียโนเหล่านั้นพูดถึงครูเปียโนคนแรกว่า ครูเหล่านั้นจะมีความเอาใจใส่ ใจดี และอดทน นักเปียโนในวัยเด็กจึงตั้งตารอที่จะได้เรียนเปียโน เพราะครูทำให้ดนตรีเป็นเรื่องน่าสนใจและสนุก พวกเขาจะมีประสบการณ์การเรีนยเปียโนที่ดีกับการเรียนครั้งแรก แถมยังได้รู้จักกับผู้ใหญ่คนหนึ่งที่ไม่ใช่คนในครอบครัว แต่กลับมอบความอบอุ่น กำลังใจ และให้ความรัก

ทีมงานของบลูมอธิบายว่า นักเปียโนระดับโลกเริ่มสนใจเปียโนเพราะได้รับการจุดประกายจากครูที่เป็นผู้ให้ ครูของพวกเขาจะหาวิธีทำให้การเรียนเปียโนเป็นเรื่องสนุก ซึ่งจะปูทางไปสู่การฝึกฝนอย่างจดจ่อที่จำเป็นต่อการพัฒนาความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังพบว่าการสำรวจความเป็นไปได้และการทำกิจกรรมทางดนตรีที่หลากหลายมีความสำคัญกว่าปัจจัยอื่น อย่างเช่น การเล่นถูกผิด หรือการเล่นไพเราะหรือไม่ไพเราะ


อันนี้ก็เป็นข้อมูลจากหนังสือที่น่าจะเป็นประโยชน์เอามาให้พิจารณานะครับ

ส่วนตัวผมมานั่งนึกย้อนๆ ดู ก็พบว่าครูดนตรีคนแรกของผม คือ ครูน้ำทิพย์ สอนอยู่ที่สาธิตสวนสุนันทาจำได้ว่าท่านก็ใจดีมากจริงๆ ครับ ส่วนครูคนต่อๆ มาของผมส่วนใหญ่ก็จะเข้าขั้นโหดขนานแท้ครับ 555 ซึ่งผมก็เคารพรัก และระลึกถึงทุกท่านนะครับ


ดู 189 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare


bottom of page