top of page
รูปภาพนักเขียนVitchatalum Laovanich

การประกวดดนตรีไทยศรทอง บนเวทีครั้งแรก

อะไรที่เป็นประสบการณ์ที่ดีๆ ครั้งแรก มักจะน่าตื่นเต้น น่าจดจำเสมอ เกรงว่าจะเลือนหายไป ขออนุญาตบันทึกไว้ซะหน่อยนะครับ


เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เด็กชายเพลงประพันธ์ เหล่าวานิช ได้มีโอกาสขึ้นเวทีประกวดดนตรีไทย ศรทองชิงถ้วยพระราชทาน บนเวทีจริงเป็นครั้งแรกซึ่งเป็นเดียวกับพ่อของเขา เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว และก่อนวันประกวดไม่เท่าไหร่ได้รับความอนุเคราะห์จากพี่เอ้ ส่งรูปสมัยประกวดตอนอยู่ระดับประถมศึกษามาให้ดู



รูป ด.ช.วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช สมัยประกวดซอด้วงระดับประถมศึกษา

ผมยังจำบรรยากาศการประกวดดนตรีศรทองของผมครั้งแรกของผมได้เป็นอย่างดี ปีนั้นน่าจะจัดที่สนามเสือป่า แบบว่าพอไปถึงเวทีประกวด เราก็ซ้อมๆๆๆ มา แต่ พอเห็นเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่กำลังสีอยู่บนเวที รู้สึกว่านั่นมันเพลงเดียวกับเราหรือเปล่า ทำไมมันเพราะจัง ฟังแล้วแบบ มันคืออะไรอ่ะ เล่นอะไรกัน อยากกลับบ้านเลย อันนั้นคือความรู้สึกแรก แต่พอขึ้นไปจริงๆ แล้วก็ผ่านไปได้ด้วยดี และก็รู้สึกว่า เออๆๆ เรามันก็พอได้เหมือนกันนี่หว่า 5555


ด.ช.เพลงประพันธ์ เหล่วานิช ประกวดซอด้วง ศรทอง บนเวทีครั้งแรก


ตัดภาพกลับมาปัจจุบัน 30 ปีผ่าน ไป ไม่นานเท่าไร่นัก555 เมื่อปี 2564 ผมก็ได้ส่งลูกชายขึ้นเวทีเดียวกับผมแต่ต่างกันนิดนึงคือ ปาวาน แข่งตั้งแต่อยู่ ป.1 แข่งกันแบบ online เข้ารอบมาแบบ งงๆ ส่วนผมเริ่มแข่งก็ตอน ป.4 ซึ่ง ตอนนั้นก็คือว่าเร็วแล้ว แต่ก็อย่างว่าครับเดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็เร็วไปหมด


อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านๆ มาจะเป็นการประกวดแบบ online ซึ่งก็จะได้บรรยากาศอีกแบบนึง กว่าจะอัดคลิปสำเร็จในแต่ละครั้งก็ใช้เวลาไปกว่าครึ่งค่อนวัน แต่ปีนี้จะพิเศษแบบปกติ คือ กลับมาแข่งขันบนเวทีจริงๆ ได้บรรยากกาศตื่นเต้นๆ แบบจริงๆ กลับมาอีกครั้ง






มีคนถามผมเยอะเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนดนตรีโน่นนี่นั้น แต่ผมว่า วิชาการสอนดนตรีไทยให้ลูกน่าจะเป็นสิ่งที่ยากมากๆ อย่างหนึ่งในบรรดาวิธีวิทยาการสอนดนตรีทั้งหลาย ไม่ทราบว่าทุกท่านเห็นด้วยหรือเปล่า แต่ผมคิดว่าคนที่เป็นพ่อแม่และเป็นนักดนตรี หรือ เป็นครูคงจะเข้าใจดี มันจะไม่เหมือนกับสอนลูกคนอื่น มันจะมีความอะไร็ไม่รู้ที่ไม่สามารถอธิบายได้


แต่จุดประสงค์ของผมไม่ได้อยากให้เค้าเล่นดนตรี หรือ แข่งดนตรีเพื่อชนะอะไรแบบนั้น แต่อย่างว่าแหล่ะครับ เด็กก็คือเด็ก เมื่อแข่งก็อย่างจะชนะ และแน่นอนว่าในชีวิตจริงๆ ของเด็กๆ คนที่เค้าแข่งขันด้วยแล้วชนะบ่อยที่สุดก็คือพ่อ 555 เพราะยอมตลอด ด้วยเหตุนี้เด็กๆ จีงชอบเล่นกับพ่อกระมัง และมีสาเหตุที่ทำให้คุณแม่หลายบ้านน้อยใจ 5555


แต่เมื่อก้าวขึ้นเวทีแข่งขันจริงๆ แล้ว มันแบบว่ามี แพ้ ชนะ ตกรอบ อะไรแบบนี้จริงๆ ก่อนจะให้เด็กๆ หรือลูกๆ ทำการแข่งขันหรือประกวดใดๆ ผมคิดว่าเราก็ต้องอธิบาย เตรียมตัว เตรียมใจ ปรับทัศนคติของเค้าให้พร้อมที่จะเข้าใจในเบื้องต้น แต่ๆๆๆ ของแบบนี้มันต้องเจอกับตัวเองจึงจะเข้าใจ และเมื่อเจอเหตุการณ์จริง โดยเฉพาะกับลูกแล้วอยากจะบอกว่ามันไม่ธรรมดา ดังน้น ถ้าจะให้ลูกลงสนามอะไรก็เตรียมตัวเตรียมใจ ให้พร้อมแล้วกันนะครับ


ปาวานเป็นเด็กที่ชอบเล่นกีฬา และแข่งขันกีฬา ตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้ค่อนข้างจะเข้าใจ concept ของการฝึกซ้อม การต้องทำซ้ำๆ การแพ้บ่อยๆ จะทำให้เราเก่งขึ้น ค่อนข้างดี







มีหลายคนบอกว่าปาวานเก่งไปหมด จริงๆ แล้ว ผมว่าให้สิ่งที่ลูกผมทำเนี่ย มันไม่ใช่ความสามารถพิเศษใดๆ มันเป็นความสามารถพื้นฐานที่เด็กๆ ทุกคนทำได้ เพียงแต่ อยู่ที่ ทรัพยากร โดยเฉพาะ เงิน กับ เวลา ที่มีคุณภาพ ในแบบที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละบ้าน


สี่งที่ผมคิดว่าสำคัญมากๆๆๆๆ สำหรับบ้านเราคือ การแสวงหาครูที่เหมาะกับลูกของเรา ครูที่เราเจอทุกก็เก่งทั้งนั้นนะครับ เพียงแต่ว่า เหมาะสม พอดีกับลูกของเราหรือไม่ อันนี้ก็เป็นศิลปะ และเป็นโชคชะตา แต่ทั้งหลายทั้งปวงผมก็คิดว่าความถึก และ ทรหดของพ่อแม่น่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญมากๆ บางทีอาจจะมากที่สุดด้วยซ้ำ


ย้อนกลับมาเรื่องการแข่งขันซอ จริงๆ แล้วในชีวิตผมไม่เคยสอนใครตั้งแต่เริ่มเล่นดนตรี จนส่งเข้าประกวดเลยนะครับ ส่วนใหญ่ก็จะสอนเด็กๆ ที่เริ่มสีซอใหม่ๆ หรือ ไม่ก็ต่อเพลงให้กับคนที่สีซอเป็นมาแล้ว ไม่ค่อยชอบส่งใครประกวด หรือ เป็นกรรมการตัดสินดนตรีใด ๆ ดังนั้น ลูกชายผมน่าจะเป็นคนแรกในชีวิต แปลว่าต่อไปจะมีอีก 555


ผมคิดอยู่นานนะครับว่าจะสอนให้เค้าเล่นดนตรีแบบผมไหม หรือ จะให้ครูเก่งๆ มาสอน เพราะอย่างที่บอกตอนแรก คือ กลัวว่าจะเสียความสัมพันธ์พ่อลูก และกลายเป็นเค้าไม่ชอบดนตรีไปเลย (จริงๆ ผมค่อนข้างจะดุเวลาสอน)


แต่นึกไปนึกมา จุดประสงค์ของผมเพียงแค่ต้องการให้เค้าเรียนรู้และซึมซับเรื่องราวของดนตรีในตัวผม ผ่านจากผมโดยตรง และมันจะทำให้ตัวเค้ามีความเป็นดนตรีในแบบพ่อของเค้า และพอจะเข้าใจมันบ้าง และในวันนึงที่เค้าโตขึ้น เค้าอาจนำวิชาในโลกของอดีตเหล่านี้มาปรับใช้กับชีวิตในอนาคตที่ไม่มีใครรู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน อย่างไรก็เท่านั้นเอง

ดู 96 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page